ตรวจความแรงของปัสสาวะ Uroflowmetry

การตรวจการไหลของปัสสาวะเป็นการตรวจขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการถ่ายปัสสาวะผิดปกติ การตรวจผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีต่อมลูกหมากโต อาการปัสสาวะเล็ดราด ( ช้ำรั่ว) หรืออาการอื่นๆที่เกี่ยวกับการถ่ายปัสสาวะ นอกจากการตรวจด้วยการซักประวัติ และตรวจร่างกายตามปกติแล้วแพทย์อาจใช้เครื่องวัดการไหลของปัสสาวะ เพื่อทดสอบสมรรถภาพของกระเพาะปัสสาวะขั้นต้น กระเพาะปัสสาวะอาจทำงานผิดพลาด เช่น ไม่สามารถบีบตัวให้ปัสสาวะไหลได้แรง และต่อเนื่อง หรือต้องเบ่งแรงๆ เนื่องจากมีบางอย่างมาอุดกลั้น เช่น ต่อมลูกหมากโต ท่อปัสสาวะตีบ หรือกระบังลมหย่อน

การตรวจการไหลของปัสสาวะทำได้ไม่ยากและใช้เวลาไม่มากโดยแพทย์จะให้ท่านถ่ายปัสสาวะลงในกรวยของเครื่องที่ใช้วัดอัตราการไหลและเครื่องจะอ่านผลว่าท่านสามารถปัสสาวะได้แรงเป็นปกติหรือไม่ เครื่องจะสามารถวัดความแรงของปัสสาวะเป็น มิลลิลิตรต่อวินาที โดยมีค่าปกติ ดังนี้

  • เพศชายประมาณ 15 มิลลิลิตรต่อวินาที
  • เพศหญิงประมาณ 18 มิลลิลิตรต่อวินาที

ดังนั้นแพทย์สามารถวิเคราะห์จากกราฟว่าสงสัยภาวะต่อมลูกหมากโต หรือกระเพาะปัสสาวะท่านทำงานได้ปกติหรือไม่

ผ่าตัดต่อมลูกหมากเลเซอร์

ผ่าตัดต่อมลูกหมากด้วยเลเซอร์ PVP (Photo-Selective Vaporization of the Prostate)

ข้อปฏิบัติในการตรวจ

  • ไม่ต้องงดน้ำ – งดอาหาร
  • รับประทานน้ำให้ได้มากพอที่จะปัสสาวะได้มากกว่า 150 ซี.ซี.
  • ควรนำน้ำที่ท่านชอบดื่มมาด้วย
  • เมื่อมาถึงคลีนิคไม่ควรปัสสาวะทิ้ง เพื่อพร้อมในการตรวจ

การรักษาต่อมลูกหมากโต มีหลาหหลายวิธี ตั้งแต่ให้ยารักษา จนถึงการผ่าตัด แต่เบื่องต้นของการรักษาคือการทานยารักษาอาการต่อมลูกหมากโต การติดตามการรักษาโดยทั่วไป คือการติดตามการตอบสนองต่อการรักษาซึ่งได้จากประวัติของผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งอาจลงเอยโดยการรับยาเดิมหรือเปลี่ยนยา โดยในทางการแพทย์มีเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามการรักษาที่ง่าย คือ เครื่องตรวจการไหลของปัสสาวะ หรือ uroflowmetry เป็นการตรวจที่ง่ายเพียงปัสสาวะลงในเครื่องตรวจ ซึ่งสามารถเป็นตัวช่วยในการชี้วัดที่ดีของการประเมินก่อนการรักษา ระหว่างการรักษา และประเมินความจำเป็นหากต้องเปลี่ยนการรักษา เช่นการผ่าตัด ในกรณีที่ผลตรวจการไหลของปัสสาวะ แย่ลงหรือค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ร่วมกับอาการของผู้ป่วย

ETERNITY CLINIC 216K

สูญเสียนํ้าอสุจิบ่อยๆ อันตรายจริงๆหรือเปล่า

น้องชายโค้งงอ อาการเพโรนีย์คืออะไร?

ผู้หญิงมี 'เซ็กน้อย' เสี่ยงตายไวจริงหรือเปล่า

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการผ่าตัดเพิ่มขนาด